วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

หมู่บ้านท่าแร่ (ชุมชนคาทอลิค


                                    หมู่บ้านท่าแร่ (ชุมชนคาทอลิค)






หมู่บ้านท่าแร่ (ชุมชนคาทอลิค)



หมู่บ้านท่าแร่ (ชุมชนคาทอลิค) ตั้งอยู่ริมหนองหาร 
บนทางหลวงหมายเลข 22 (สกลนคร-นครนม) ต.ท่าแร่ อ.เมือง ห่างจากตัวเมืองประมาณ 21 กม. หมู่บ้านท่าแร่ เป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่าเป็นหมู่บ้านที่มีประชากรนับถือศาสนาคริสต์มากที่สุดในประเทศไทย เป็นชุมชนที่เก่าแก่มีอายุกว่า 100 ปี ชาวบ้านแทบทุกหลังคาเรือนนับถือศาสนาคริสต์ ในอดีตประมาณปี พ.ศ.2427 ประชากรชาวท่าแร่เป็นคริตชน อพยพมาจากประเทศเวียดนามประมาณ 40 คน อาศัยอยู่ในตัวเมืองสกลนคร และมีบาทหลวงเกโก(มิชชั่นนารีชาวฝรั่งเศส) เป็นผู้ดูแลความเป็นอยู่ แต่เนื่องจากจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น กอปรกับมีปัญหากับเจ้าหน้าที่ของรัฐบางคน จึงได้ย้ายมาตั้งถิ่นฐานใหม่ที่บ้านท่าแร่ ซึ่งเต็มไปด้วยป่าไม้มีหินลูกรังทั่วไป และคนพื้นเมืองเรียก "หินแฮ่" และยังเป็นที่ตั้งของอัครสังฆมณฑลท่าแร่ หนองแสง หรือสำนักมิสซังท่าแร่ฯ หมู่บ้านนี้มีผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมตารางหมากรุก คล้ายกับบ้านเมืองในแถบประเทศตะวันตก นอกจากนี้ยังมีบ้านเรือนสถาปัตยกรรมแบบฝรั่งเศสที่งดงามเรียงรายสองข้างทางในถนนสายหลักของหมู่บ้านเป็นจำนวนมาก 
ดังนั้น ในทุกๆ วันที่ 25 ธันวาคม ของทุกปี ชุมชนแห่งนี้จะจัดเทศกาลแห่ดาวคริสต์มาส โดยจัด "ขบวนแห่ดาวคริสต์มาส" ที่ อ.เมือง โดยเชื่อว่า "ดาว" เป็นสัญลักษณ์ของการเสด็จลงมาประสูติบนโลกมนุษย์ของพระเยซู ขบวนรถจะตกแต่ง ด้วยดาวขนาดใหญ่ ประดับประดาด้วยดวงไฟวิทยาศาสตร์หลากสีสันอย่างสวยงาม และจะสื่อถึงเรื่องราวการประสูติของพระเยซู ในทุกปีจะมีรถดาวเข้าร่วมขบวนประมาณ 200 คัน ชาวบ้านก็จะตกแต่งโคมไฟรูปดาวไว้ที่หน้าบ้าน จากนั้นเป็นการเฉลิมฉลองในหมู่ชาวคริสต์ มีการร้องเพลงประสานเสียง การประกวดร้องเพลงคริสต์มาส มีการจำหน่ายสินค้าและมีมหรสพทั้งคืน
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ชุมชนร้อยปี ท่าแร่ 

วัดถ้ำขาม หรือ ภูขาม




วัดถ้ำขาม หรือ ภูขาม ชาวบ้านมักเรียกว่า ภูคำขาม อยู่ในเขตบ้านคำป่า ตั้งอยู่บนภูขาม ซึ่งเป็นเขาลูกหนึ่งบนเทือกเขาภูพาน การเดินทาง ใช้เส้นทางสายสกลนคร-อุดรธานี เส้นทางหลวงหมายเลข 22 ไปประมาณ 22 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายเข้าทางเดียวกับพระธาตุภูเพ็กไปอีกประมาณ 10 กิโลเมตร ก่อนที่จะตรงขึ้นไปพระธาตุภูเพ็กมีทางแยกขวาไปประมาณ 30 กิโลเมตร
วัดถ้ำขามนี้เดิมเป็นที่ปฏิบัติธรรมของ พระอาจารย์ฝั้นอาจาโร ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดนี้จนถึงประมาณ พ.ศ. 2507 ท่านอาพาธจึงได้ไปจำพรรษาที่วัดป่าอุดมสมพร นอกจากนี้ยังเป็นวัดหนึ่งที่เก็บอัฐิของพระอาจารย์เทศก์ เทศรังสี ซึ่งมีผู้คนยังเดินทางมาสักการะบูชาอยู่เป็นประจำ 
วัดถ้ำขาม เป็นวัดที่พระอาจารย์ฝั้น อาจาโรเป็นผู้สร้างขึ้นตั้งอยู่บนเทือกเขาภูพาน ตำบลไร่ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดหนองคาย ตามเส้นทางสายสกลนคร-อุดรธานี (ถนนนิตโย) ก่อนถึงอำเภอพรรณานิคมเล็กน้อย มีทางเข้าได้หลายเส้นทางเช่น เส้นทางเข้าพระธาตุภูเพ็ก หรือทางบ้านไร่
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี (พระราชนิโรธรังสีคัมภีร์ปัญญาวิศิษฏ์) กำเนิดเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2445 (ปีขาล) เป็นบุตรของนายอุตส่าห์ นางครั่ง ครอบครัวชาวนา บ้านนาสีดา ตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
เมื่ออายุ 18 ปี มีโอกาสติดตาม พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ออกธุดงค์ และบรรพชา เป็นสามเณร ที่วัดบ้านเค็งใหญ่ โดยมีพระอาจารย์ลุย เป็นอุปัชฌาย์ ต่อมาไป ศึกษาธรรมที่วัดสุทัศนาราม เมืองอุบล และเรียนหนังสือที่วัดศรีทอง 
เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 อุปสมบท ณ พัทสีมาวัดสุทัศนาราม โดยมีพระมหารัฐเป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาปิ่น ปัญญาพโล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ต่อมาได้ออกธุดงค์ไปกับพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ได้มีโอกาสวาสนากราบ นมัสการพระเดชพระคุณหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่บ้านค้อ อำเภอบ้านผือ อุดรธานีทำให้ มีกำลังจิต กำลังใจ ในการปฏิบัติธรรมบำเพ็ญความเพียรอย่างยิ่ง
ครั้งสมัยที่ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ไปพำนักทางภาคเหนือ ท่านพระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี ได้จาริกธุดงค์กับพระอาจารย์อ่อนสีไปกราบท่านอาจารย์ใหญ่ที่ป่าเมี่ยง ดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่ และได้ปฏิบัติธรรมในภาคเหนือ ถิ่นมูเซอร์ และมาโปรดสาธุชนแถบลำพูนจนกลับมา ภาคอีสานพำนักที่วัดอรัญญวาสี ท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ปี พ.ศ. 2492 ไปเยี่ยมหลวงปู่มั่นที่อาพาธที่วัดบ้านหนองผือ นาใน อ.พรรณานิคม จังหวัดสกลนคร จนกระทั่งท่านพระอาจารย์ใหญ่ละสังขาร 
กาลต่อมาปี พ.ศ. 2493 ท่านไปจำพรรษาที่จังหวัดภูเก็ตและเผยแผ่ศาสนธรรมในภาคใต้ ร่วมกับหมู่คณะท่านพำนักที่ภูเก็ต-พังงา-กระบี่ นานถึง 15 ปีกลับมาที่ถ้ำขามสกลนคร พักจำพรรษา ปีรุ่งขึ้นจาริกมาที่วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ซึ่งตั้งอญู่ริมแม่น้ำโขงบรรยากาศดีเหมาะแก่การเจริญธรรมสัมมาปฏิบัติ
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี เป็นสมณะผู้สมบูรณ์ด้วยศีลาจารวัตรอันงดงามยิ่ง เป็นผู้นำศรัทธาในการอบรมสั่งสอนธรรมและนำสร้างศาสนสถานเพื่อการจรรโลงพระบวรพุทธศาสนาหลายแห่งในถิ่นแถบอีสาน เป็นปูชนียาจารย์ของชนทุกระดับชั้น 
ในปัจฉิมวัยท่านไปพำนักพักที่วัดถ้ำขามและละสังขารด้วยอาการสงบเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2537 เวลาประมาณ 21.45 น สิริรวมอายุได้ 93 ปี 71 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานน้ำหลวงสรงศพและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานหีบทองทึบ และทรงรับงานบำเพ็ญกุศลอยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์ พิธีพระราชทานเพลิงศพ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี มีที่วัดหินหมากเป้ง นับเป็นงานพระราชทานเพลิงศพพระเถราจารย์ครั้งประวัติศาตร์

น้ําตกคําหอมและโค้งปิ้งงู สกลนคร


อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 14 กิโลเมตร บริเวณใกล้เคียงจะเป็นที่ตั้งของน้ำตกต่างๆ อีกหลายแห่ง เช่น น้ำตกเหวสินธุ์ชัย น้ำตกตาดโตน อยู่ท่ามกลางป่าไม้ร่มเย็น และหน้าทางเข้าบริเวรน้ำตกคำหอม บนถนนสายสกลนคร-กาฬสินธุ์ เป็นช่วงที่คดเคี้ยวไปมาเหมือนงูที่ถูกย่างหรือปิ้ง ซึ่งมีไหล่ทางลดหลั่นเป็นชั้นๆ กินพื้นที่บริเวณกว้าง สามารถทำให้มองเห็นทิวทัศน์ตัวเมืองสกลนครและ หนองหารในระยะไกลที่สวยงาม การคมนาคมเข้าแหล่งท่องเที่ยวเหล่านี้ สะดวกปลอดภัย สามารถเดินทางเข้าถึงตลอดทั้งปี สำหรับน้ำตกต่างๆ ในฤดูฝนจะมีน้ำมากส่วนในฤดูแล้งน้ำจะแห้ง

น้ำตกคำหอม สกลนคร

น้ำตกคำหอม สกลนคร
น้ำตกคำหอม สกลนคร
น้ําตกคําหอมและโค้งปิ้งงู อยู่ในเขตพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติภูพาน ต.ห้วยยาง อ.เมืองสกลนคร จ.สกลนครเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในจังหวัดสกลนคร เพราะสภาพแวดล้อมโดยรอบมีความสวยงาม บรรยากาศร่มรื่น บริเวณน้ำตกมีโขดหินจำนวนมาก สามารถนั่งพักผ่อนชมธรรมชาติและลงเล่นน้ำได้ นอกจากนี้บริเวณทางเข้าน้ำตกยังมีความน่าสนใจเนื่องจากเป็นจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นทัศนียภาพอันน่าตื่นตาของตัวเมืองสกลนครและหนองหารได้

สถานที่ตั้ง ตำบลห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

น้ำตกคำหอมมีต้นน้ำมาจากเขาถ้ำดงลิง บนภูเขาเขียวเทือกเขาภูพาน ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญมากในจังหวัดสกลนครอีกแห่งหนึ่งและน้ำตกคำหอมจะไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำห้วยเดียก บริเวณโดยรอบน้ำตกมีทัศนียภาพที่สวยงามร่มรื่นมีโขดหินมากมาย เหมาะแก่การนั่งพักผ่อนเป็นอย่างมาก จึงได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวที่พาครอบครัวมานั่งรับประทานอาหารในช่วงวันหยุดอีกทั้งระยะทางห่างจากตัวเมืองไม่มากนัก
จุดที่น่าสนใจ
บริเวณทางเข้าน้ำตกคำหอมเป็นสถานที่ที่สวยงามเป็นอย่างมากเพราะสามารถมองเห็นตัวเมืองสกลนครและหนองหารได้ จึงถือว่าเป็นจุดชมวิวที่สวยมากที่สุดของสกลนครเลยทีเดียว โดยถนนดังกล่าวนั้นมีความโค้งมากที่สุดในเส้นทางสกลนคร – กาฬสินธุ์ จึงเรียกว่า” ทางโค้งปิ้งงู” ในปัจจุบันได้มีการสร้างบริเวณดังกล่าวเป็นสวนหย่อมมีการปลูกต้นไม้นานาชนิดไว้ และมีการสร้างหลักกิโลเมตรที่ได้ชื่อว่าเป็นหลักกิโลเมตรที่ใหญ่ที่สุดในโลก ดังนั้นจึงมักมีผู้ที่ผ่านไปผ่านมาต้องแวะชมวิวหรือพักผ่อนเป็นประจำ แต่ในปัจจุบัน๒-๓ ปีที่ผ่านมาป่าไม้ในเทือกเขาภูพานได้ถูกทำลายเป็นจำนวนมากจึงทำให้น้ำในน้ำตกคำหอมมีจำนวนน้อยลง หากเป็นฤดูร้อน จะไม่มีน้ำไหลเลย
น้ำตกคำหอม สกลนคร
น้ำตกคำหอม สกลนคร
น้ําตกคําหอมและโค้งปิ้งงู
น้ําตกคําหอมและโค้งปิ้งงู
น้ำตกคำหอม สกลนคร
น้ำตกคำหอม สกลนคร
การเดินทางน้ําตกคําหอมและโค้งปิ้งงู
ใช้เส้นทางสกลนคร – กาฬสินธุ์ อยู่ห่างจากจังหวัดประมาณ 14 กิโลเมตร

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

วนอุทยานโกสัมพี

 เดิมพื้นที่วนอุทยานโกสัมพีเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์  ตั้งอยู่บ้านคุ้มกลาง ตำบลหัวขวาง
ในเขตเทศบาลโกสุมพิสัย อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม อยู่ติดแม่น้ำชี และมีองค์หลวงพ่อมิ่งเมือง ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้าน คู่เมืองของชาวอำเภอโกสุมพิสัยกราบไหว้บูชา นอกจากนี้ยังมีดอนปู่ตา พื้นที่มีสภาพเป็นป่าไม้เบญจพรรณ ต้นไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้นขึ้นเป็นจำนวนมากและมีฝูงลิงแสมอาศัยอยู่เป็นจำนวน กว่า 500 ตัว ป่าหนองบุ่งแห่งนี้ เป็นสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ และน่าหลงใหลเป็นอย่างยิ่ง






สะดืออีสาน

บึงกุย
มนต์เสนห์แห่งโกสุมพิสัย
บึงน้ำขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ติดถนนสายโกสุมพิสัย-มหาสารคาม แม้นหลายคนเรียกตรงจุดนี่ว่าสะดืออีสาน  ก็คงไม่แปลกเพราะจุดนี้ถือเป็นตัวแทนของอำเภอโกสุมพิสัยอันเป็นเมืองแห่งสะดืออีสาน   ปัจจุบันพัฒนาเป็นสวนสวย และมีการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง














หมู่บ้านปั้นหม้อ

คุณรู้ไหมหม้อดินคุณภาพดี หม้อจิ้มจุ่มดีๆที่ทำให้เนื้อนุ่มแสนอร่อยคู่แจ่วฮ้อน...... ผลิตที่สารคาม
ณ บ้านหม้อ อ.เมือง จ.มหาสารคาม โดยเป็นชุมชนคนโคราชอพยพมาเมื่อราว 100 ปีมาอยู่สารคามพบหนองน้ำที่มีดินเหนียวคุณภาพดีจึงลงหลักปักฐาน อยู่ยาวจนทุกวันนี้ หมู่บ้านนี้อนุรักษ์เอกลักษณ์ไว้ 2 อย่าง คือความรู้การการปั้นดิน ตามแบบชาวด่านเกวียน และการสำเนียงพูดโคราชที่ฟังแล้วเพลินดีครับพี่น้อง



















สะพานไม้วัดป่าวังเกาะเกิ้ง

ตั้งอยู่ที่ ต.เกิ้ง อ.เมือง จ.มหาสารคาม
ยาว 145 เมตร สร้างขึ้นมาใหม่เมื่อสามปีก่อน เพื่อให้ชาวบ้านข้ามไปวัดได้สะดวกเ พราะเดิมทีข้ามด้วยเรือ          ซึ่งไม่สะดวกและอันตราย โดยพระในวัดร่วมกับชาวบ้าน นักศึกษาจาก มมส. ม.ราชภัฏมหาสารคาม           วิทยาลัยเทคนิค และมูลนิธิต่างๆ ร่วมแรงกันสรรค์สร้างออกมาได้อย่างสวยงาม

เส้นทางการมาเริ่มที่หอนาฬิกา มุ่งหน้าตะวันแดง เลยวังมัจฉาไปอีก ราว 1 กม. ถึงบ้านเกิ้งข้ามสะพานชี สุดสะพานเลี้ยวขวา ทางลูกรังไปเรื่อยๆผ่านบ้านโนนทัน ถึงสะพานอยู่ขวามือ