วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

วัดถ้ำขาม หรือ ภูขาม




วัดถ้ำขาม หรือ ภูขาม ชาวบ้านมักเรียกว่า ภูคำขาม อยู่ในเขตบ้านคำป่า ตั้งอยู่บนภูขาม ซึ่งเป็นเขาลูกหนึ่งบนเทือกเขาภูพาน การเดินทาง ใช้เส้นทางสายสกลนคร-อุดรธานี เส้นทางหลวงหมายเลข 22 ไปประมาณ 22 กิโลเมตร มีทางแยกซ้ายเข้าทางเดียวกับพระธาตุภูเพ็กไปอีกประมาณ 10 กิโลเมตร ก่อนที่จะตรงขึ้นไปพระธาตุภูเพ็กมีทางแยกขวาไปประมาณ 30 กิโลเมตร
วัดถ้ำขามนี้เดิมเป็นที่ปฏิบัติธรรมของ พระอาจารย์ฝั้นอาจาโร ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดนี้จนถึงประมาณ พ.ศ. 2507 ท่านอาพาธจึงได้ไปจำพรรษาที่วัดป่าอุดมสมพร นอกจากนี้ยังเป็นวัดหนึ่งที่เก็บอัฐิของพระอาจารย์เทศก์ เทศรังสี ซึ่งมีผู้คนยังเดินทางมาสักการะบูชาอยู่เป็นประจำ 
วัดถ้ำขาม เป็นวัดที่พระอาจารย์ฝั้น อาจาโรเป็นผู้สร้างขึ้นตั้งอยู่บนเทือกเขาภูพาน ตำบลไร่ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดหนองคาย ตามเส้นทางสายสกลนคร-อุดรธานี (ถนนนิตโย) ก่อนถึงอำเภอพรรณานิคมเล็กน้อย มีทางเข้าได้หลายเส้นทางเช่น เส้นทางเข้าพระธาตุภูเพ็ก หรือทางบ้านไร่
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี (พระราชนิโรธรังสีคัมภีร์ปัญญาวิศิษฏ์) กำเนิดเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2445 (ปีขาล) เป็นบุตรของนายอุตส่าห์ นางครั่ง ครอบครัวชาวนา บ้านนาสีดา ตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
เมื่ออายุ 18 ปี มีโอกาสติดตาม พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ออกธุดงค์ และบรรพชา เป็นสามเณร ที่วัดบ้านเค็งใหญ่ โดยมีพระอาจารย์ลุย เป็นอุปัชฌาย์ ต่อมาไป ศึกษาธรรมที่วัดสุทัศนาราม เมืองอุบล และเรียนหนังสือที่วัดศรีทอง 
เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 อุปสมบท ณ พัทสีมาวัดสุทัศนาราม โดยมีพระมหารัฐเป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาปิ่น ปัญญาพโล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ต่อมาได้ออกธุดงค์ไปกับพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ได้มีโอกาสวาสนากราบ นมัสการพระเดชพระคุณหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่บ้านค้อ อำเภอบ้านผือ อุดรธานีทำให้ มีกำลังจิต กำลังใจ ในการปฏิบัติธรรมบำเพ็ญความเพียรอย่างยิ่ง
ครั้งสมัยที่ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ไปพำนักทางภาคเหนือ ท่านพระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี ได้จาริกธุดงค์กับพระอาจารย์อ่อนสีไปกราบท่านอาจารย์ใหญ่ที่ป่าเมี่ยง ดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่ และได้ปฏิบัติธรรมในภาคเหนือ ถิ่นมูเซอร์ และมาโปรดสาธุชนแถบลำพูนจนกลับมา ภาคอีสานพำนักที่วัดอรัญญวาสี ท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ปี พ.ศ. 2492 ไปเยี่ยมหลวงปู่มั่นที่อาพาธที่วัดบ้านหนองผือ นาใน อ.พรรณานิคม จังหวัดสกลนคร จนกระทั่งท่านพระอาจารย์ใหญ่ละสังขาร 
กาลต่อมาปี พ.ศ. 2493 ท่านไปจำพรรษาที่จังหวัดภูเก็ตและเผยแผ่ศาสนธรรมในภาคใต้ ร่วมกับหมู่คณะท่านพำนักที่ภูเก็ต-พังงา-กระบี่ นานถึง 15 ปีกลับมาที่ถ้ำขามสกลนคร พักจำพรรษา ปีรุ่งขึ้นจาริกมาที่วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ซึ่งตั้งอญู่ริมแม่น้ำโขงบรรยากาศดีเหมาะแก่การเจริญธรรมสัมมาปฏิบัติ
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี เป็นสมณะผู้สมบูรณ์ด้วยศีลาจารวัตรอันงดงามยิ่ง เป็นผู้นำศรัทธาในการอบรมสั่งสอนธรรมและนำสร้างศาสนสถานเพื่อการจรรโลงพระบวรพุทธศาสนาหลายแห่งในถิ่นแถบอีสาน เป็นปูชนียาจารย์ของชนทุกระดับชั้น 
ในปัจฉิมวัยท่านไปพำนักพักที่วัดถ้ำขามและละสังขารด้วยอาการสงบเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2537 เวลาประมาณ 21.45 น สิริรวมอายุได้ 93 ปี 71 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานน้ำหลวงสรงศพและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานหีบทองทึบ และทรงรับงานบำเพ็ญกุศลอยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์ พิธีพระราชทานเพลิงศพ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี มีที่วัดหินหมากเป้ง นับเป็นงานพระราชทานเพลิงศพพระเถราจารย์ครั้งประวัติศาตร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น